เปิดเมื่อ16/02/2012
อัพเดท27/02/2012
ผู้เข้าชม29595
แสดงหน้า33155
จำนวนสินค้า3

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

พิมพ์หมายเลข EMS 13 หลัก โดยไม่ต้อง
เว้นวรรคแล้วกดปุ่ม Search

รายละเอียดเพิ่มเติม
ไวโอลิน
แบ่งปันให้เพื่อน เมื่อ 17/02/2012 อ่าน 1439 | ตอบ 3

 

ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตรา

ประวัติ


ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดไวโอลินได้ปรากฏขึ้นเมื่อช่วงเวลาใด แต่คาดว่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ผลิตนั้นดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรียุคกลาง 3 ชนิด อันได้แก่ เรเบค (rebec) ซอเรอเนซองซ์ (the Renaissance fiddle) และ ลีรา ดา บราชโช (lira da braccio) ซึ่งเครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับไวโอลิน แต่หลักฐานที่แน่นอนที่สุดก็คือ มีหนังสือที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับไวโอลินในปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) แล้ว โดยได้ตีพิมพ์ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส และคาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ไวโอลินน่าจะเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปแล้ว

ไวโอลินที่ถือว่าเป็นคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ต่อมาด้วยคุณภาพที่ดีของเครื่องดนตรี พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ อันเดร์ ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นมาอีก เพื่อมาเป็นเครื่องดนตรีบรรเลง ประเภทใหม่ของวงออร์เคสตราประจำของพระองค์ และไวโอลินที่เก่าแก่สุดและยังให้เห็นอยู่ คือไวโอลินที่ อันเดร์ ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองเครโมนา (Cremona) ประเทศอิตาลี ซึ่งได้ถวายแด่ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เช่นกันตรงกับปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)

แต่ไวโอลินที่น่าจะเก่าแก่และโด่งดังที่สุดน่าจะเป็นไวโอลินที่มีชื่อว่า เลอ เมสซี่ (Le Messie) หรือ Salabue ประดิษฐ์โดย อันโตนิโอ สตราดีวารี เมื่อปี พ.ศ. 2259 (ค.ศ. 1716) ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ Ashmolean Museum แห่ง อ๊อกซฟอร์ด

[แก้] สกุลช่าง

สกุลช่างทำไวโอลินสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ได้ดังนี้

  1. สกุลช่างเบรสเชีย (Brescian School: พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2163) สร้างสรรค์งานตามแนวทางที่ได้วางรากฐานไว้โดย Gaspard Duiffopruggar
  2. สกุลช่างเครโมนา (Cremona School: พ.ศ. 2093 - พ.ศ. 2309) ถือเป็นสกุลช่างทำไวโอลินที่สำคัญที่สุด ผลงานของสกุลช่างเครโมนาเกิดจากการสร้างสรรค์ของช่างในตระกูล Amati, Stradivari, Guarneri, Bergonzi, Guadagnini ฯลฯ
  3. สกุลช่างเนเปิ้ลส์ (Neopolitan School: พ.ศ. 2223 - พ.ศ. 2343) สกุลช่างนี้จะถ่ายทอดผ่านทางช่างฝีมือทำไวโอลินชาวมิลานและเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี ตระกูลช่างทำไวโอลินที่สำคัญได้แก่ตระกูล Grancino, Testore, Gagliano, Landofi ฯลฯ
  4. สกุลช่างฟลอเรนซ์ (Florentine School: พ.ศ. 2223 - พ.ศ. 2303) สกุลช่างนี้ฟลอเรนซ์จะรวมถึงช่างฝีมือทำไวโอลินชาวโรม และโบโลญญ่าด้วย ผ่านทางฝีมือของช่างทำไวโอลิน Gabrielli, Anselemo, Florentus, Techler และ Tononi
  5. สกุลช่างเวนิส (Venetian School: พ.ศ. 2233 - พ.ศ. 2307) สกุลช่างเวนิสนี้ ได้เกิดขึ้นที่เมืองเวนิส โดยผ่านทางช่าง ได้แก่ Domenico Montagnana และ Sanctus Seraphin งานช่างสกุลนี้มีความใกล้เคียงกับงานของสกุลช่างโครโมนา
  6. สกุลช่างไทโรล (Tyrolese School: พ.ศ. 2183 - พ.ศ. 2239)

ผลงานสกุลช่างไทโรลนี้ได้ถ่ายทอดผ่านทางฝีมือของ Jakob Stainer และช่างในตระกูล Klotz และ Albani ฯลฯ

โครงสร้างไวโอลิน

ภาพแสดงการเรียกชื่อชิ้นส่วนต่างๆของไวโอลินในภาษาอังกฤษ

โครงสร้างของไวโอลิน เรียงจากบนไปล่าง

  • หัวไวโอลิน (Scroll)
  • โพรงลูกบิด (Pegbox)
  • คอ (Neck)
  • สะพานวางนิ้ว หรือ ฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard)
  • (Upper Bout)
  • เอว (Waist)
  • ช่องเสียง (F-holes)
  • หย่อง (Bridge)
  • (Lower Bout)
  • ตัวปรับเสียง (Fine Tuners)
  • หางปลา (Tailpiece)
  • ที่รองคาง (Chinrest)

ขนาดมาตรฐานของไวโอลินคือ ยาว 23.5 นิ้ว และ คันชักยาว 29 นิ้ว

[แก้] การดูแลรักษาไวโอลิน

[แก้] ไม้กับความชื้น (Wood and Water)

Violin peg strings.jpg

ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการอบเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของไวโอลินจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำเครื่อง ดนตรีอื่นๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว

ในช่วงเดือนที่มีความชื้นสูงๆ ไม้แผ่นหน้ามักจะเกิดการขยายตัวมากกว่าอาการคอไวโอลินตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายไวโอลินเหนือสะพานวางนิ้วลอยสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศอาจเป็นสาเหตุให้การเล่นและการตอบสนองของ เสียงเกิดการแกว่งตัว และอาจทำให้เกิดปัญหาที่หนักกว่านั้นคือ ไม้เกิดการปริแตกเมื่อสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็วกว่าที่มันดูดซึมเอาไว้ ได้

[แก้] การบิดตัวของไม้ (Distortion)

ธรรมชาติของไม้มีความยืดหยุ่นในตัวเอง อาจจะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงที่มากระทำ ช่างทำไวโอลินอาศัยข้อดีอันนี้ในการขึ้นรูปแผ่นไม้ด้านข้าง (Rib) หรือการดัดไม้

แต่หย่องที่งอ ไม้แผ่นหลังที่ยุบ และคอไวโอลินที่ตก เป็นผลมาจากแรงกดอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม้เริ่มบิดตัว มันจะสูญเสียความแข็งแรงจากรูปทรงเดิมอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดความเสียหายหนักตามมา

[แก้] อุณหภูมิ (Temperature)

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม้เกิดการขยายตัวและหดตัว เช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของอุณหภูมิและ ความชื้นในไม้ ควรจะใช้กล่องไวโอลินแบบสูญญากาศอย่างดี และอย่าวางไว้ไกล้รังสีความร้อนหรือวางถูกแสงแดดโดยตรง กล่องไวโอลินเกือบทุกชนิดที่บุด้วยวัสดุผิวด้านสีเข้มจะมีผลต่อการดูดซับแสง ให้แปรเปลี่ยนเป็นความร้อนได้มากกว่า

[แก้] การเดินทาง (Travel) ขนส่ง (Shipping) การถือ (Carrying an instrument)

ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อย่าวางเครื่องดนตรีไว้ในกระโปรงท้ายรถ เพราะเครื่องดนตรีจะได้รับความร้อนมาก ทำให้ได้รับความเสียหาย

เมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายสายออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆ บุที่หย่องทั้ง 2 ด้านเสียก่อน ควรเก็บเครื่องดนตรีไว้ในกล่องของมันเองเพื่อความปลอดภัย หลังจากนั้นให้ห่อในกล่องสำหรับส่งของ บุรอบๆ กล่องด้วยวัสดุสำหรับห่อกล่อง

ถ้าหกล้มในขณะถือเครื่องดนตรี โดยสัญชาติญาณของคนส่วนใหญ่จะกอดกล่องไวโอลินไว้ข้างหน้า เพราะคิดว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องดนตรีแตกหักได้ แต่น่าเสียดายว่ากลับทำให้เครื่องดนตรีพังมา ควรใช้กล่องที่แข็งแรงซึ่งจะยึดไวโอลินให้ลอยอยู่ในกล่องเพื่อป้องกัน อุบัติเหตุจากการล้มคว่ำหงาย และพยายามหัดถือกล่องด้วยมือที่ไม่ถนัดให้เคยชิน เช่น ถือด้วยมือซ้ายถ้าคุณเป็นคนถนัดขวา ซึ่งจะทำให้เหลือมือข้างที่ถนัดไว้ป้องกันตนเองได้

[แก้] การทำความสะอาด (Cleaning)

การเช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องและคันชักด้วยผ้านุ่มๆ สะอาดๆ หลังการเล่นทุกครั้งเป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นกิจวัตร ใช้เศษผ้าชุบแอลกอฮอล์เพื่อขจัดการเกาะตัวของยางสนบนฟิงเกอร์บอร์ด และสาย

ภาพแสดงการเรียกชื่อชิ้นส่วนต่างๆของคันชักเป็นภาษาอังกฤษ

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือระวังไม่ให้แอลกอฮอล์สัมผัสกับผิวของวานิช และควรจะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คสภาพไวโอลินเป็นประจำทุกๆ ปี ช่างอาจจะปล่อยรอยคราบบางอย่างเอาไว้ และใช้น้ำยาเคลือบผิวทับลงไปบนคราบสกปรกโดยไม่จำเป็นต้องเอาออกก็ได้ กรดจากผิวหนังของคุณสามารถทำลายผิวของวานิชได้อย่างช้าๆ ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวของวานิช

[แก้] คันชัก (Bow)

ควรจะจับคันชักบริเวณ Frog ในขณะดึงหางม้า (Hair) ให้ตึง เพราะจะช่วยลดแรงกดที่เกลียวสกรูทองเหลือง (Screw) ที่อยู่ข้างในโคนด้ามคันชัก และช่วยป้องกันไม่ให้เกลียวหวานได้

ในขณะที่คุณเล่นไวโอลินนั้น หางม้าที่อยู่ด้านข้างคันชักที่คุณลากลงมักจะขาดก่อนเพื่อน ทำให้ความสมดุลของแรงดึงบนคันชักเสียไปจนอาจทำให้คันชักงอได้ ดังนั้นพยายามเปลี่ยนหางม้าบ่อยๆ และพยายามรักษาหนังหุ้มด้ามคันชัก (Pad หรือ Grip) ให้อยู่ในสภาพดี ถ้านิ้วโป้งของคุณไปเสียดสีกับด้ามคันชักบ่อยๆ จะทำให้คันชักได้รับความเสียหายเช่นกัน พยายามตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ และควรให้ความเอาใจใส่ปลายคันชัก (Tip) เป็นพิเศษ

 

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 16/11/2019 06:59
2
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 6/12/2019 19:54
3
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 12/12/2019 04:28
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :